1. หลักการและเหตุผล
  เนื่องจากปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในพื้นที่หลายจังหวัด (โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรีถูกประกาศอยู่ใน 13 จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด) ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มของจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งสถานที่ควบคุมกลุ่มเสี่ยงตามแนวทางในการจัดเตรียมพื้นที่ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข กรณีการระบาดในวงกว้างจนเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลในการรับดูแลผู้ป่วยไว้
  การคัดเลือกสถานที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งและความจำเป็นของบริษัทฯ เช่น ความต้องการของพนักงาน ทรัพยากรด้านอาคารสถานที่ เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น งบประมาณ เพื่อให้การดูแลกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลรักษาอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ผู้ที่รับผิดชอบหลักในการดำเนินการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายต้องจัดตั้งคณะทำงานผู้รับผิดชอบในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการที่กำกับดูแลในช่วงสถานการณ์ของโรคระบาด

2. วัตถุประสงค์
2.1 จัดตั้งระบบการดูแลและเฝ้าระวังพนักงานในกลุ่มเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด
2.2 เพื่อคัดแยกพนักงานกลุ่มเสี่ยงจากคนปกติได้ทันท่วงทีและชัดเจน
2.3 ใช้เป็นสถานที่เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยในอาการที่ไม่รุนแรงและคงที่ เข้ารับบริการตามระบบการดูแลตามมาตรการควบคุม

3. การบริหารจัดการในการจัดตั้งสถานที่ควบคุมกลุ่มเสี่ยงและเฝ้าระวัง COVID-19
3.1 สถานที่
 - พื้นที่ควบคุมหอพักพนักงาน ชั้น 4 จำนวน 6 ห้อง (A401, A402, A409, A410, A412, A414) บ้านพักด้านหลัง 2 ห้อง (B13, B14)
 - สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภคที่จำเป็น เช่น ไฟฟ้า ประปา และอื่นๆ
 - เขตควบคุมพิเศษห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่
3.2 วัสดุและอุปกรณ์
 - วัสดุสำนักงาน เครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม
 - อุปกรณ์สื่อสาร โทรศัพท์/วิทยุ
3.3 ระบบการดูแลเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง
 - แนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
 - ผู้รับผิดชอบในการติดต่อหน่วยงานฉุกเฉินภายนอก (เบอร์โทรศัพท์+โรงพยาบาล+หน่วยงานราชการ)
 - เจ้าหน้าที่ติดตามผลประจำวัน (การบันทึกค่าอุณหภูมิ+อัพเดทสถานะกลุ่มเสี่ยง)
 - การประชาสัมพันธ์สื่อสารให้รับรู้รับทราบร่วมกันในบริษัทฯ
 - การตรวจสอบจากกล้องวงจรปิดหรือความเคลื่อนไหวของกลุ่มเสี่ยง
3.4 ระบบการขนส่งหรือระบบส่งต่อผู้ป่วย
 - การขนส่งวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ การกำจัดขยะติดเชื้อ
 - ซ้อมแผนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยกรณีที่อาการทรุดลง
3.5 ระบบการป้องกันควบคุมการติดเชื้อและแพร่กระจาย
 - อุปกรณ์ป้องกันและการตรวจสอบติดตามอาการ เช่น ที่วัดไข้อุณหภูมิ เจลแอลกอฮอล์ อุปกรณ์ PPE
 - ปริมาณการใช้อุปกรณ์ให้เพียงพอและบุคลาการเข้าใจวิธีการปฏิบัติ
3.6 ระบบสุขาภิบาล
 - กระบวนการกำจัดเชื้อโรค
 - สัดส่วนห้องอาบน้ำ/ห้องน้ำ
3.7 ระบบรักษาความปลอดภัย
 - เขตพื้นที่ควบคุมพิเศษห้ามบุคคลภายนอกเข้า
 - การตรวจสอบกล้องวงจรปิด/ตรวจสอบบุคคลภายนอก
3.8 การประชาสัมพันธ์และสื่อสาร
 - สื่อสารทำความเข้าใจกับพนักงาน
 - ลดความกังวลและความเครียดของผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย
3.9 อุปกรณ์ดำรงชีพ
 - อาหาร น้ำดื่ม
 - อุปกรณ์ของใช้ประจำวันพื้นฐาน
 - อุปกรณ์สันทนาการเพื่อลดความเครียดผู้ป่วย
3.10 ยาและเวชภัณฑ์ (ปริมาณจำเป็นและเหมาะสม)
 - ยาลดไข้ ลดความดันโลหิต
 - ยาประจำผู้ป่วยแต่ละราย
 - เครื่องวัดความดัน/ปรอทวัดไข้

4. เงื่อนไขและคุณสมบัติความเสี่ยงของผู้ที่ต้องกักกัน
4.1 พนักงานที่ถูกคำสั่งจากหน่วยงานราชการให้ตรวจหาเชื้อและกักกันในพื้นที่ของตนเอง
4.2 พนักงานที่มีอาการของโรค สุ่มเสี่ยงจากการสัมผัสของผู้ติดเชื้อ
4.3 พนักงานที่มาจากกลุ่มของคลัสเตอร์ที่มีความเสี่ยงจากการติดเชื้อ
4.4 พนักงานที่สมัครใจเข้ากักกันในพื้นที่กำหนด

5. ขั้นตอนการดำเนินการ
5.1 หน่วยงานที่มีพนักงานไปปฏิบัติงานในพื้นที่เสียงต่อการติดเชื้อให้แจ้งรายชื่อไปยังศูนย์ประสานงาน โดยให้มีการสอบสวนรายละเอียดพนักงานที่ชัดเจนเพื่อเสนอพิจารณาเข้าข่ายที่ต้องกักตัวในสถานที่กำหนด
5.2 เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานประเมินพนักงานที่เสี่ยงและจัดเข้าตามผังเตียงที่กำหนด เช่น ตามความเสี่ยงของผู้ป่วยหรือจามวันที่รับเข้าสถานที่กักกัน แบ่งโซนชาย/หญิง เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ
5.3 บันทึกประวัติและติดตามการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วย
5.4 ระยะห่างระหว่างเตียงผู้ป่วยควรห่างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร หรือพิจารณาตามความเหมาะสมของสถานที่
5.5 จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในส่วนที่พักผู้ป่วย เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดัน เพื่อให้ผู้ป่วยวัดและรายงานให้เจ้าหน้าที่รบทราบ
5.6 เจ้าหน้าที่จัดส่งอาหารและน้ำดื่ม 3 มื้อ โดยจัดวางไว้ในสถานที่ที่กำหนดเพื่อให้ผู้ป่วยมารับไปแจกภายในสถานที่กักกัน
5.7 จัดเตรียมอุปกรณ์สันทนาการเพื่อลดความเครียด เช่น อุปกรณ์กีฬา โทรทัศน์หรืออื่นๆ
5.8 จัดทีมให้คำปรึกษาเพื่อจัดการภาวะเครียดของผู้ป่วย
5.9 กรณีผู้ป่วยมีอาการผิดปกติหรือเกิดเหตุฉุกเฉินให้ติดต่อโรงพยาบาลหลักหรือลำดับต่อไปเพื่อนำส่งผู้ป่วย
5.10 การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อครบกำหนดระยะการกักตัวให้ศูนย์ประสานงานประเมินเป็นกรณีๆเพื่อพิจารณาอาการและเอกสารรับรองก่อนเข้าปฏิบัติงานปกติ

แผนผังการดำเนินงาน

แผนการดำเนินงาน  กรณีที่ 1  (กรณีกลุ่มเสี่ยงที่มาจากการทำงาน)

แผนการดำเนินงาน  กรณีที่ 2  (กรณีมีการติดเชื้อและเข้าโครงการ Home Isolation)

6. งบประมาณโครงการ
6.1 ค่าอาหาร+น้ำดื่ม  (วันละ 150 บาท X10 คน X 14 วัน) =  21,000 บาท
6.2 วัสดุอุปกรณ์อาคารสถานที่ = 3,000 บาท
6.3 ยาและและเวชภัณฑ์จำเป็น = 2,000 บาท
6.4 อุปกรณ์ทางการแพทย์ = 1,000 บาท
6.5 อุปกรณ์สำนักงาน = 1,000 บาท
รวมทั้งหมด = 28,000 บาท

7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายสมควร สนิทวาจา – ผู้อำนวยการโครงการฯ
นางณัฐพัชร์ โสภณขจัดภัย – ศูนย์ประสานงาน
นายชัยวิชิต เพริศแก้ว – ประสานงาน
นายศรายุทธ รัตนนท์ – ประสานงาน
นายจักรกฤษ ซ่อนกลิ่น – กฎหมาย
นางสาวกมลฉัตร เรืองศรี – สถิติและข้อมูล
นางสาวเปรมกมล จิรารัตนกุลชัย – สื่อสารและประชาสัมพันธ์
นางสาวชลธิชา อินทรานุสรณ์ – สื่อสารและประชาสัมพันธ์
นางสาวอังคนาง เรืองศรี – สื่อสารและประชาสัมพันธ์
นางสาวปัณฑิตา โกฎิปภา – สื่อสารและประชาสัมพันธ์
นายศิวกร ทวีสุข – สื่อสารและประชาสัมพันธ์
นายพูลทรัพย์ มงคลแก้ว – ธุรการ
นายทวีศักดิ์ ยันไธสง – ธุรการ

8. ประโยชน์และการคาดหวังจากโครงการ
8.1 สามารถจำแนกและเฝ้าระวังพนักงานในกลุ่มเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิดได้อย่างรวดเร็ว
8.2 สามารถดูแลพนักงานกรณีที่ระบบสาธารณสุขไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยได้
8.3 พนักงานได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์เชิงป้องกันโควิดในพื้นที่และความเข้าใจต่อสถานการณ์โรคระบาด
8.4 พนักงานมีทัศนคติและแรงจูงใจในเรื่องความปลอดภัยที่ดี
8.5 สามารถป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ผู้เสนอโครงการ
นายชัยวิชิต  เพริศแก้ว – เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
นางณัฐพัชร์  โสภณขจัดภัย – หัวหน้าแผนกบุคคล